วิสัยทัศน์ : แรงงานมีศักยภาพสูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี “ Productive Manpower ”
พันธกิจ :
แนวทางการดำเนินงาน/พัฒนา :
กรอบนโยบายของประเทศที่สำคัญ
1. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
ยกระดับศักยภาพ ทักษะ และสมรรถนะแรงงานอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน มีการทำงานตามหลักการทำงานที่มีคุณค่า เพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
ภารกิจของกระทรวงแรงงานมีส่วนที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ (3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
3. นโยบายรัฐบาล
3.1 เร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งสตรี ผู้ด้อยโอกาส และแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย
3.2 ยกระดับคุณภาพแรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน
3.3 เชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่และของประเทศโดยรวม
3.4 ส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบที่ถูกกฎหมายมากขึ้น
3.5 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงาน ต่างด้าว
3.6 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมแก่แรงงานไทย และร่วมพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของแรงงานอาเซียน
4. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 – 2564)
ได้กำหนดผลประโยชน์แห่งชาติเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มั่นคงทางสังคม ท่ามกลางสังคมและการมีเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงานในเรื่อง การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล และจัดระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง
5. นโยบายไทยแลนด์ 4.0
นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการแรงงานและเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานเข้าสู่มาตรฐานสากล
6. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579)
กระทรวงแรงงานได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ.ระยะ 20.ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ในอีก 20 ปีข้างหน้า คือ ทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่าสูงสู่ความยั่งยืน แบ่งการดำเนินการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์เป็น 4 ช่วง ๆ ละ 5 ปี ดังนี้
ช่วงที่ 1 Productive Manpower (พ.ศ.2560 – 2564) เป็นช่วงของการวางรากฐานด้านแรงงานให้เป็นมาตรฐานสากล
ช่วงที่ 2 Innovative Workforce (พ.ศ.2565 – 2569) เป็นช่วงของการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประชากรของโลก (Global Citizen)
ช่วงที่ 3 Creative Workforce (พ.ศ.2570 – 2574) เป็นช่วงของการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่การทำงาน
ช่วงที่ 4 Brain Power (พ.ศ.2575 – 2579) เป็นช่วงของการเข้าสู่สังคมการทำงานแห่งปัญญา
7. แผนแม่บทพัฒนาแรงงานไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564)
กระทรวงแรงงานได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 2) ยุทธศาสตร์ การคุ้มครองและเสริมสร้างความมั่นคง หลักประกันในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดี 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ 4).ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกในการสร้างความสมดุลของตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนในภาคแรงงาน 5).ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร บุคลากร ด้วยหลักธรรมาภิบาลและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร และ 6).ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อบูรณาการสารสนเทศที่ทันสมัยมีเสถียรภาพ
8. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
มุ่งสู่การบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในเป้าหมายข้อที่ 8 คือ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ยั่งยืนและทั่วถึง และการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน (Decent Work and Economic Growth)
นโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการในการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงแรงงาน ปี 2564 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ นโยบายเร่งด่วน 13 ข้อ ภายใต้ 4 แนวทาง นโยบายสำคัญ 9 ข้อ และกลไกขับเคลื่อน 4 ข้อ ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วน 4 แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 เยียวยาความเจ็บปวดที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะ SMEs และประชาชนตกงาน ดังนี้
1.1 โครงการมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID – 19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา
1.2 ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้นายจ้างและผู้ประกันตน
1.3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยปลอดดอกเบี้ย
1.4 มาตรการเชิงรุกให้ลูกจ้างที่ว่างงานได้รับสิทธิประโยชน์โดยเร็ว
แนวทางที่ 2 แก้ปัญหาต่าง ๆ ในแนวทางที่ต้องยั่งยืน (เศรษฐกิจยั่งยืน) ต้องใช้เงินที่เหมาะสม และ ที่สำคัญช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจริง และกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลไกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ดังนี้
2.1 มาตรการสนับสนุนการจ้างงาน เพื่อคนว่างงานในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโควิด
2.2 เร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ เพื่อรองรับแรงงานนอกระบบทุกคน
2.3 มาตรการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เชิงรุกในภาวะวิกฤติ
แนวทางที่ 3 สร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจต่าง ๆ ยังคงจ้างงานต่อไป และใช้วิกฤติพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และแข่งขันได้ ดังนี้
3.1 สร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจต่าง ๆ ยังคงจ้างงานต่อไป และใช้วิกฤติพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและแข่งขันได้
3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน
3.3 มาตรการส่งเสริมการเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
แนวทางที่ 4 รัฐ (หน่วยงานของรัฐ) ให้มีแผนการจ้างงานคนรุ่นใหม่ และผู้ไม่เคยเข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้มีงานทำ ดังนี้
4.1 มาตรการสนับสนุนการจ้างงานผู้สำเร็จการศึกษาใหม่
4.2 THAILAND JOB EXPO 2020
4.3 Platform ไทยมีงานทำ.com
2. นโยบายสำคัญ ๙ ข้อ ประกอบด้วย
2.1 การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว
• การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา)
• บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่การอนุญาตนั้น ได้สิ้นสุดลง และยังไม่ได้เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร สามารถอยู่และทำงานได้
• บริหารจัดการการนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยนำเข้าแรงงานต่างด้าว 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตามระบบ MOU และกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มี WP และ VISA แล้ว แต่ได้เดินทางกลับประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19
• ถ่ายโอนภารกิจการออกใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้ภาคเอกชนดำเนินการ (Outsource)
2.2 มาตรการการดำเนินการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อมุ่งสู่ Tier 1 (นำข้อเสนอแนะในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย 5 ข้อ (จาก 16 ข้อ))
• พัฒนาการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แรงงาน เพื่อ ดำเนินการเชิงรุกในการคัดแยกผู้เสียหาย
• เพิ่มการตรวจสอบการจัดทำสำเนาเอกสารสัญญาจ้าง ให้มีภาษาของประเทศต้นทางให้ลูกจ้างเข้าใจ
• เพิ่มการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมระดับท้องถิ่นในศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดสัญญาจ้าง และสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ของรัฐ รวมถึงการจัดการให้บริการแก่ผู้เสียหาย
• เพิ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการละเมิดแรงงานและการร้องเรียนของแรงงานต่างด้าว รวมถึงข้อบ่งชี้ของแรงงานบังคับจะได้รับการสอบสวนในคดีค้ามนุษย์
• บังคับให้มีการจ่ายค่าแรงตามกฎหมายมีข้อกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าธรรมเนียม การจัดหางานให้กับแรงงานต่างด้าวและให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการครอบครองเอกสารประจำตัวและเอกสารทางการเงิน
2.3 มาตรการถอดรายการสินค้าออกจากรายการที่ถูกขึ้นบัญชีการใช้แรงงานเด็ก หรือแรงงานบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Force Labor: TVPRA List)
• เพิ่มการเข้มงวดในการตรวจแรงงานในระบบ และการตรวจแรงงานนอกระบบ
• เพิ่มศักยภาพพนักงานตรวจแรงงานอย่างต่อเนื่อง
• สำรวจการใช้ข้อมูลแรงงานเด็กในประเทศไทย
• สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน โดยกลไกคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ร่วมกันกำหนดวิธีการ แนวทางการดำเนินการ และร่วมกันดำเนินการยื่นขอถอดถอนรายชื่อสินค้าออกจากบัญชีดังกล่าว และจัดทำ MOU ประกาศเจตจำนง เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็กในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
• ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจนในแนวปฏิบัติที่จะไปสู่ความสำเร็จในการไม่ใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก
• ส่งเสริมการจัดทำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ในอุตสาหกรรมกุ้ง อาหารทะเล และอุตสาหกรรมเรือประมง
2.4 มาตรการส่งเสริม คุ้มครอง พัฒนา และสร้างหลักประกันทางสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
• ส่งเสริมพัฒนาอาชีพและรายได้ของแรงงานนอกระบบ
• คุ้มครองและสร้างหลักประกันทางสังคม
• พัฒนาองค์กรเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
2.5 การส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
• รักษาตลาดงานเดิมในต่างประเทศ
• ส่งเสริมการจ้างงานระยะสั้น
• ขยายตลาดแรงงานใหม่ในต่างประเทศ
2.6 มาตรการบริหารจัดการด้านแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อให้มีการส่งเสริมการมีงานทำ คุ้มครองแรงงาน พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน อำนวยความสะดวกในตรวจลงตรา และอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าว
2.7 มาตรการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เชิงรุกในภาวะวิกฤติ
• สร้างความรู้ความเข้าใจระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมทั้งให้นำมาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างและแนวปฏิบัติว่าด้วยการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ มาใช้ก่อนที่สถานประกอบกิจการจะประกาศหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 75 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมถึงหากมีการเลิกจ้างลูกจ้างด้วย
• กรณีสถานประกอบกิจการกลับมาเปิดกิจการได้ตามปกติหลังจากหยุดกิจการชั่วคราว แต่มีความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ต้องส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการใช้การบริหารแรงงานสัมพันธ์ด้วยระบบทวิภาคี มีการร่วมปรึกษาหารือกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อสร้างความร่วมมือที่ดีต่อกันในสถานประกอบกิจการ และสามารถจัดการปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยเร็ว
• รับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิที่เป็นตัวเงินหากลูกจ้างถูกนายจ้างละเมิดสิทธิหรือถูกเลิกจ้างแล้วไม่ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด
• ใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับเงินตามกฎหมายจากนายจ้าง (กรณีค่าชดเชย และเงินอื่น) โดยจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ในอัตรา 30 – 70 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละท้องที่ (ขึ้นอยู่กับอายุงานของลูกจ้าง)
2.8 Safety & Healthy Thailand
• ตรวจและกำกับสถานประกอบกิจการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
• สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้าง นายจ้าง
• พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาวะให้สอดคล้องกับภารกิจและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
• ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันเพื่อให้แรงงานมีความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย
ที่ดีภายใต้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม
• ยกระดับและประชาสัมพันธ์ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ความปลอดภัยในการทำงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสพระชนมายุ 60 พรรษา
• โครงการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ Zero Accident)
• โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย ได้แก่ การจัดงาน สัมมนาวิชาการประจำปี (Safe@Work) การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัย 5 ภาค งานประกวดนวตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ด้านความปลอดภัย ในการทำงาน
• Healthy Thailand เพื่อผู้ประกันตนผ่านกลไก 3 H (Helping – Healthy – Harmless)
2.9 พัฒนาสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ สังคม และรองรับสังคมสูงอายุ
• ส่งเสริมการมีงานทำและฝึกอบรมแรงงานผู้สูงอายุให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะฝีมือ เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ มีรายได้
• ดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ ดังนี้
– เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไปทำการปลูกถ่ายไตในสถานพยาบาลนอกความตกลง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
– กรณีทุพพลภาพ เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้จากร้อยละ 50 เป็น ร้อยละ 70 ของค่าจ้าง
– กรณีคลอดบุตร เพิ่มระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน
– กรณีสงเคราะห์บุตร ให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ได้รับสิทธิสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน
– กรณีค่าทำศพ กองทุนเงินทดแทน กรณีเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน ปรับจาก 40,000 บาท เป็น 50,000 บาท
– ให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน
รองรับสังคมผู้สูงอายุ
• ขยายอายุการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิม 60 ปีบริบูรณ์ เป็นไม่กำหนดอายุขั้นสูง
• ประกันเงินบำนาญขั้นต่ำให้แก่ทายาทกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตภายใน 60 เดือน
• ปรับสูตรการคำนวณบำนาญของผู้ประกันตนเมื่อเกษียณอายุ
• พัฒนาสิทธิประโยชน์ให้ผู้รับบำนาญสามารถเป็นผู้ประกันตนต่อไป โดยได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี
[เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย]
3. กลไกขับเคลื่อน
3.1 จัดตั้งศูนย์อำนวยการแรงงานแห่งชาติ
จัดตั้งศูนย์อำนวยการแรงงานแห่งชาติ ชื่อย่อ ศอร. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการกำกับ ติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างรวดเร็ว ฉับไว และทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งบูรณาการการทำงานเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
3.2 การให้บริการประชาชนทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการประชาชนทางเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับ รัฐบาลดิจิทัล
– พัฒนา Job Demand Open Platform ให้ใช้งานสะดวกผ่าน Mobile Application โดยระบบจะนำ AI มาใช้ในการจับคู่งาน จำนวน 1 ระบบ
– พัฒนาระบบบริการภาครัฐผ่านระบบเล็กทรอนิกส์ (e – Service) จำนวน 5 ระบบ ได้แก่ สมัครฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สมัครทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ยื่นคำขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ยื่นคำขอประเมินเงินสมทบ ยื่นคำขอรับรองความรู้ความสามารถ
– การพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ภาคความรู้) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Testing)
– Fixer Finder (รวมช่าง) จำนวนช่างที่พร้อมให้บริการ
– การยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิที่เป็นตัวเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
– การตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนผ่าน Application “SSO Connect Mobile”
– ระบบ E – payment, E – filing, E – self Service, และ E – compensate
– Mobile App “T – Oshe guide” เพื่อให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามารถใช้บริการได้สะดวกอีกช่องทางหนึ่ง เช่น การดาวน์โหลดสื่อและมาตรฐานความปลอดภัย
– Web App เพื่อคัดกรองผู้มาใช้บริการด้านวิชาการความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ลงทะเบียน
อบรมสัมมนา แบบคำร้องของใช้บริการต่าง ๆ ของ สสปท.
– สายด่วน 1506 บริการสอบถามข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียน ตลอด 24 ชั่วโมง
3.3 พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านแรงงาน (Labour Big Data Analytics) เพื่อพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ โดยบูรณาการฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สามารถตอบสนองได้ตรงกับความต้องการทั้ง Demand และ Supply ในตลาดแรงงาน
3.4 สร้างความรู้ความเข้าใจ (IO) เชิงรุก เพื่อให้สามารถเข้าถึงแรงงานและประชาชนได้ฉับไว และ ทันต่อสถานการณ์
4. การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
4.1 ให้ผู้บริหารทุกหน่วยงานชี้แจงนโยบายและมอบภารกิจที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรทุกระดับ กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดสำคัญรองรับนโยบายและให้สอดคล้องกับงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน 4.3 ให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตาม กำกับดูแล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้