การป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
ความหมายละองค์ประกอบของการค้ามนุษย์
การกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก ส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย (รับไว้ซึ่งบุคคลใด)
โดยวิธีการ อย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวงใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล ถ้ากระทำต่อเด็กแม้จะไม่ใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้น และไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าเด็กนั้นเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่อของการค้ามนุษย์
วัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
– จาการค้าประเวณี
– การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสสื่อลามก
– การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น
– การเอาคนลงเป็นทาส
– การนำคนมาขอทาน
– การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
– การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
หมายความว่าการเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามา หรือส่งต่อไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด ด้วยวิธีการ ข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือใช้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของผู้ปกครองหรือผู้ควบคุมดูแลบุคคลนั้น ให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิด ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงาน และให้หมายรวมถึงการเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่ อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์จาการบังคับใช้แรงงาน
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้านแรงงาน
หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือบริการ
– โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ
– ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น
– โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ
– โดยใช้กำลังประทุษร้าย
– หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
หมายความว่า บุคคลที่ตกเป็นผู้กระทำในการค้ามนุษย์ด้านแรงงานโดยตรง
เด็กที่ถูกใช้แรงงานโดยมิชอบด้วยกฏหมาย
หมายความว่าบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ยกเว้นเด็กอายุตั้งแต่ 13 ปี บริบูรณ์ ในงานเกษตรกรรมที่ไม่ทำตลอดทั้งปี แต่ไม่ถึง 18 ปี ที่ทำงานในลักษณะงานหรือสถานที่ที่กฏหมายคุ้มครองแรงงานห้าม
“กรณีเด็กถูกค้ามนุษย์เพื่อหาประโยชน์ด้านแรงงาน ถือว่าเป็นการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด (ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182) จะดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดโดยทันที”
รูปแบบการควบคุมเหยื่อของนักค้ามนุษย์
– การผูกพันธ์ด้วยภาระหนี้สิน โดยต้องทำงานเพื่อชดใช้หนี้สินนั้น
– การกักขัง หน่วงเหนี่ยว หรือการจองจำเหยื่อ
– การใช้กำลังบังคับและการคุกคามเสรีภาพ
– การข่มขู่ว่าจะทำร้ายครอบครัวของเหยื่อ
– การยึดเอกสารประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงาน
ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ มีโทษดังนี้
– จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 80,000 ถึง 200,000 บาท
– ถ้าผู้ถูกกระทำความผิดเป็นเด็กอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 ปี ถึง 12 ปี และปรับตั้งแต่ 120,000 บาท ถึง 240,000 บาท
– ถ้าผู้ถูกกระทำความผิดเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 8 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 160,000 บาท ถึง 300,000 บาท
– ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ มีโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด